ชนิดพืชและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการจัดการศัตรูพืช

มนุษย์นั้นรู้จักการใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืชมานานแล้ว แต่สิ่งเหล่านี้กลับถูกมองข้าม ขาดการเผยแพร่ ประกอบกับสารเคมีทางการเกษตรในปัจจุบันหาได้ง่าย ใช้ได้ง่าย และเห็นผลรวดเร็วกว่า แต่เมื่อมีการใช้ในระยะเวลานานๆ ก็จะเริ่มส่งผลเสียออกมาให้เห็น มีทั้งผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ พืช รวมทั้งสิ่งแวดล้อมด้วย ปัจจุบัน นักวิชาการทางการเกษตร เกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภค จึงได้ให้ความสำคัญกับการใช้สมุนไพรควบคุมศัตรูพืช สนใจภูมิปัญญาพื้นบ้านมากขึ้น รวมถึงนักวิชาการบางท่าน ได้หันมาสนใจค้นคว้าและพัฒนาสมุนไพรเพื่อให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช ยังมีข้อดีหลายอย่างคือ มีราคาถูก ปลอดภัย ต่อเกษตรกรผู้ใช้ ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิตจึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่เป็นประโยชน์ในแปลงพืชผัก ไม่ตกค้างในดินและสภาพแวดล้อม



สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ได้แก่ :- หางไหลขาว (โล่ติ้น) หางไหลแดง (กะเพียด) ยาสูบ (ยาฉุน) เถาบอระเพ็ด สาบเสือ พริกไทย ข่าแก่ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง ดีปลี พริก โหระพา สะระแน่ กระเทียม กระชาย กระเพรา ใบผกากรอง ใบดาวเรือง ใบมะเขือเทศ ใบคำแสด ใบน้อยหน่า ใบยอ ใบลูกสบู่ต้น ใบลูกเทียนหยด ใบมะระขี้นก เปลือกว่านหางจระเข้ ว่านน้ำ เมล็ดโพธิ์ เมล็ดแตงไทย เปลือกมะม่วงหิมพานต์ ดอกลำโพง ดอกเฟื่องฟ้าสด กลีบดอกชบา ลูกทุเรียนเทศ รากเจตมูลเพลิงแดง

สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอนชนิดต่าง ได้แก่ :- สะเดา (ใบ+ผล) หางไหลขาว (โล่ติ้น) หางไหลแดง (กะเพียด) หนอนตายหยาก สาบเสือ ยาสูบ (ยาฉุน) ขมิ้นชัน ว่านน้ำ หัวกลอย เมล็ดละหุ่ง ใบและเมล็ดสะบู่ต้น ดาวเรือง ฝักคูณแก่ ใบเลี่ยน ใบควินิน ลูกควินิน ใบมะเขือเทศ เถาบอระเพ็ด ใบลูกเทียนหยด เปลือกใบเข็มป่า เปลือกต้นจิกและจิกสวน ต้นส้มเช้า เมล็ดมันแกว ใบยอ ลูกเปลือกต้นมังตาล เถาวัลย์ยาง เครือบักแตก คอแลน มุยเลือด ส้มกบ ตีนตั่งน้อย ปลีขาว เกล็ดลิ้น ย่านสำเภา พ่วงพี เข็มขาว ข่าบ้าน บัวตอง สบู่ดำ แสยก พญาไร้ใบ ใบแก่-ผลยี่โถ

สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช สามารถแยกตามชนิดของแมลงศัตรูพืชได้ดังนี้

หนอนกระทู้ - มันแกว สาบเสือ ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน ข่า ขิง คูน น้อยหน่า

หนอนคืบกระหล่ำ - มันแกว สาบเสือ ยาสูบ ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน คูน ตะไคร้หอม

หนอนใยผัก - มันแกว ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง ขมิ้นชัน คูน ตะไคร้หอม

หนอนกอข้าว - ยาสูบ บอระเพ็ด ใบมะเขือเทศ

หนอนห่อใบข้าว - ผกากรอง

หนอนชอนใบ - ยาสูบ ใบมะเขือเทศ

หนอนกระทู้กล้า - สะเดา

หนอนหลอดหอม - ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ ตะไคร้หอม

หนอนหนังเหนียว - ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน

หนอนม้วนใบ - ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน ตะไคร้หอม

หนอนกัดใบ - ยี่โถ สะเดา หนอนตายหยาก ใบมะเขือเทศ คูน ตะไคร้หอม

หนอนเจาะยอดเจาะดอก - ยี่โถ สะเดา ขมิ้นชัน คูน

หนอนเจาะลำต้น - สะเดา ใบมะเขือเทศ คูน

หนอนแก้ว - ใบมะเขือเทศ ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม

หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก - ใบมะเขือเทศ ดาวเรือง

หนอนผีเสื้อต่างๆ - มันแกว หนอนตายหยาก สะเดา คูน

ด้วงหมัดกระโดด - มันแกว ว่านน้ำ มะระขี้นก ยาสูบ กระเทียม

ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว - ขมิ้นชัน ด้วงกัดใบ มะระขี้นก คูน

ด้วงเต่าฟักทอง - สะเดา กระเทียม น้อยหน่า

ด้วงหรือมอดทำลายเมล็ดพันธุ์ - ยี่โถ กระเทียม ขมิ้นชัน ข่า ขิง

มอดข้าวเปลือก - ว่านน้ำ

มวนเขียว - มันแกว ยาสูบ

มวนหวาน มันแกว ยาสูบ

แมลงสิงห์ข้าว - มะระขี้นก

เพลี้ยอ่อน - มันแกว ยาสูบ สะเดา หนอนตายหยาก ดาวเรือง กระเทียม น้อยหน่า

เพลี้ยไฟ - ยางมะละกอ สะเดา สาบเสือ ยาสูบ หนอนตายหยาก กระเทียม

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล - สะเดา สาบเสือ บอระเพ็ด

เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว - สะเดา สาบเสือ บอระเพ็ด

เพลี้ยหอย - สาบเสือ

เพลี้ยแป้ง - ยาสูบ สะเดา ไรแดง ยาสูบ ขมิ้นชัน ไรขาว ยาสูบ ขมิ้นชัน

แมลงหวี่ขาว - ดาวเรือง กระเทียม

แมลงวันแดง - ว่านน้ำ น้อยหน่า สลอด ข่าเล็ก เงาะ บัวตอง ขิง พญาไร้ใบ

แมลงวันทอง - ว่านน้ำ หนอนตายหยาก บัวตอง มันแกว แสลงใจ

แมลงปากกัดผัก - ว่านน้ำ

แมลงกัดกินรากและเมล็ดในหลุมปลูก - มะรุม

จิ้งหรีด - ละหุ่ง สบู่ดำ สลอด

ปลวก - ละหุ่ง

ตั๊กแตน - สะเดา

อย่างไรก็ตามการใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชมิได้เป็นวิธีการสำเร็จรูปเหมือนกับการใช้สารเคมี การใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช ควรทำควบคู่ไปกับวิธีธรรมชาติหรือวิธีทางเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างสมดุลทางธรรมชาติให้เกิดขึ้นในแปลงพืชผักผลไม้ วิธีทางเกษตรอินทรีย์เหล่านั้น ได้แก่

1. การเตรียมดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพ

2. การเลือกใช้พันธุ์ที่ทนทานต่อโรคและแมลง

3. ปลูกพืชให้ตรงกับฤดูกาลที่เหมาะสม

4. การปลูกพืชหลายชนิดในแปลงเดียวกัน แบบผสมผสานและปลูกพืชหมุนเวียน

การปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยให้พืชผักมีสุขภาพแข็งแรงต้านทานโรคและแมลง ป้องกันการระบาดของแมลงศัตรูพืช
สมุนไพรป้องกันกำจัดหอย หนู

สารซาโปนิน ที่ประกอบอยู่ใน โสม (จีน,เกาหลี) ย่านสะบ้า เถาวัลย์ มะคำดีควาย เล็บมือนาง เมล็ดชาพันปี มีฤทธิ์เป็นด่างส่งผลกระทบต่อระบบหายใจของสัตว์เลือดเย็นทุกชนิดที่ต้องอาศัยการดูดซึมออกซิเจนจากน้ำทำให้สามารถฆ่าหอยเชอรี่อย่างได้ผล สามารถป้องกันหอยเชอรี่ไม่ให้เข้ามาในแปลงนาได้ 3 – 4 อาทิตย์

นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรชนิดอื่นที่สามารถป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ได้ เช่น สะเดา เสม็ด

สมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดหนู ได้แก่ ละหุ่ง สบู่ดำ สลอด บอระเพ็ด



สมุนไพรป้องกันกำจัดเชื้อโรคพืช

สมุนไพรป้องกันกำจัดเชื้อโรคพืช ได้แก่ :- สาบเสือ ว่านน้ำ ยาสูบ เถาบอระเพ็ด ต้นแสยก ต้นขาไก่ ต้นกระดูกไก่ พริก กระเพรา ขมิ้นชัน ก้านพลู ชะพลู เปลือกลูกมะม่วงหิมพานต์ ใบลูกเทียนหยด ลูกอินทนิลป่า ลูกตะโก ใบมะรุม ใบยูคาลิปตัส เปลือกว่านหางจระเข้ ว่านไฟ ขมิ้นเครือ ภังคีน้อย หัวข่า สิงไคต้น พะยอม รากรางดี ดีปลีเชือก แก่นประดู่ เปลือกวงกล้วย ห้วยไพล กระเทียม ใบมะละกอ ตะไคร้หอม ตะไคร้บ้าน ใบมะเขือเทศ เปลือกมังคุด เปลือกเงาะ เปลือกต้นแค ลูกกล้วยอ่อน ลูกหมากสด ลูกการะบูน ลูกเสม็ด ลูกครัก รากหม่อน หน่อไม้สด พริก

สมุนไพรป้องกันกำจัดเชื้อโรคพืช สามารถแยกตามชนิดของโรคพืชได้ดังนี้

โรคราสนิมกาแฟ - ยางมะละกอ

โรคราแป้ง - ยางมะละกอ

โรคใบแห้ง - ขมิ้นชัน ข่า ขิง

โรคใบจุด - กระเทียม ข่า ขิง

โรคแอนแทรกโนส - ว่านน้ำ

โรคราสนิม - ยาสูบ ใบมะเขือเทศ กระเทียม

โรคเน่าคอดิน - หนอนตายหยาก กระเทียม

โรคยอดเหี่ยว ใบเหี่ยว - บอระเพ็ด กระเทียม

โรคข้าวตายพราย - บอระเพ็ด กระเทียม

โรคเมล็ดข้าวลีบ - บอระเพ็ด กระเทียม

โรคผลเน่า ฝักเน่า - ข่า ขิง

โรคใบไหม้ - กระเทียม

โรคราน้ำค้าง - กระเทียม

โรคใบหงิก - ยาสูบ กระเทียม

โรคไวรัสต่างๆ (วงแหวนมะละกอ) - กระเทียม ยาสูบ ใบมะเขือเทศ

โรคราต่างๆ ในดิน - ว่านน้ำ มะรุม ยาสูบ กระเทียม หนอนตายหยาก ขมิ้นชัน ข่า ขิง

โรคจากแบคทีเรีย - ใบมะเขือเทศ กระเทียม

ไส้เดือนฝอย - ดาวเรือง ละหุ่ง ใบมะเขือเทศ กระเทียม



สมุนไพรป้องกันกำจัดวัชพืช

ใช้สารสกัดจากควินิน แกง ชุมเห็ดไทย ตำแยแมว ชบา น้ำนมราชสีห์ เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช